เกาะสมุย

เมืองกาญจนบุรี

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

การปกครองรูปแบบประชาธิปไตยในไทย



นวความ คิดที่จะนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศไทย ได้เริ่มต้นขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว พระองค์ทรงดำเนินรัฐประศาสโนบาย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปดังเช่น โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ เพื่อถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการปกครอง
ในปีพุทธศักราช 2417 หรือการปฏิรูประบบราชการ ปีพุทธศักราช 2435 และที่สำคัญคือการเลิกทาส ซึ่งนับเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว กระแสความต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครองทวีความรุนแรงขึ้น

พระองค์ทรงจัดตั้งเมืองสมมุติขึ้นมีชื่อว่า" ดุสิตธานี " ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณพระราชวังดุสิต เพื่อทดลองการปกครองบ้านเมืองในระบบอบประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี
พุทธศักราช 2468 พระองค์ทรงตั้งพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะวาง
รากฐานการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังปรากฏ
หลักฐานและเอกสารการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่
ประชาชนหลายครั้ง แต่ถูกยับยั้งจากที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาว่า
ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร
ช่วงเวลานั้นกระแสการเรียกร้องการปกครองมีความรุนแรงมากขึ้นจนในที่สุดก็มี กลุ่มที่เรียกตนเองว่า"คณะราษฎ์"ได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการเปลี่ยน แปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475

หลังจากนั้น ประเทศไทยได้มีการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจนถึงปัจจุบัน