เกาะสมุย

เมืองกาญจนบุรี

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การปกครองรูปแบบเผด็จการ






การปกครองระบอบเผด็จการ
ความหมายของระบอบเผ็ดการ
ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง ระบบการเมืองการปกครองที่ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองหรือรัฐบาลมา กกว่าเสรีภาพส่วนบุคคล ประชาชนไม่มีสิทธิเข้าไปมีส่วนในการปกครอง เป็นแต่เพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่ งครัด
ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการทุกรูปแบบ จะยึดหลักการที่เหมือนกัน คือ ปรัชญาการใช้กำลัง ซึ่งถือว่าผู้เข้มแข็งมี อิทธิพลและกำลังย่อมมีสิทธิได้รับอำนาจการปกครอง โดยถือว่าอำนาจคือ ธรรม แนวคิดในเรื่องเผ็ดการทางการเมืองส่วนใหญ่มักจะมองจากข้อเขียนแ ละแนวปฏิบัติของ เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำของ
อิตาลี และ อดอร์ฟฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีในช่วงสงครามครั้งที่สองแต่ความจริงเผด็จการมีม าแต่โบราณกาลแล้ว ซึ่งอาจแบ่งความหมายของเผ็ดการได้เป็น 3 ฐานะด้วยกัน คือ
1.เผด็จการในฐานะที่เป็นแนวคิดทางการเมือง แนวคิดทางการเมืองของระบอบเผด็จการเชื่อว่ารัฐเป็นเสมือนผู้ที่ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมดี ความถูกต้อง และความยุติธรรม รัฐเป็นผู้ถ่ายทอดความดีงามเหล่านี้ไปสู่ประชาชน ประชาชนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเชื่องฟัง ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ ส่วนตัวแทนของรัฐออกคำสั่งให้ประชาชนปฏิบัติตาม ก็คือ ผู้นำ ซึ่งอาจมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียว หรืออาจเป็นกลุ่มผู้นำก็ได้ อุดมการณ์ของระบบเผด็จ การนั้นถือว่าผู้นำเป็นผู้ที่มีลักษณะพิเศษ ที่สามารถล่วงรู้เจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างถูกต้องการกระทำได ของผู้นำจึงเป็นการกระทำไปด้วยเจตนารมณ์ของประชาชน ผู้นำจึงอยู่ในฐานะที่ทำอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีความผิด ฉะนั้นการ ที่มีผู้ขัดขวางหรือไม่เห็นด้วยกับผู้นำจะถูกกล่าวหาเป็นผู้หวั งจะทำลายชาติและประชาชน
2.เผด็จการในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครอง การปกครองเผด็จการโดยทั่วไป หมายถึงระบอบร่วมอำนาจของผู้ปกครอง คือ ผู้ปกครองต้องยึดอำนาจรัฐไว้ได้
ส่วนใหญ่มักจะใช่วิธีการรุนแรงในการได้มาซึ่งอำนาจนั้น เช่น การทำรัฐประหาร
โดยผู้นำรัฐประหารหรือผู้นำเผด็จเหล่านี้พยายามใช่วิธีการทุกอย ่างเพื่อที่จะรักษาอำนาจนั้นไว้ และขยายอำนาจเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจมีการจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง ที่สำคัญๆ
ในระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ผู้ใกล้ชิดหรือญาติมิตรคุมกองกำลังที่ มีอาวุธทั้งทหารและตำรวจ
3.เผด็จการในฐานะที่เป็นวิธีชีวิต หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม แนวคิด ตลอดจนแนวปฏิบัติของคนในสังคม ซึ่งอาจเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ได้ โดยมีความเชื่อว่าคนเราเกิดมาแต่ละคนย่อมมีความแต่ต่างกันในทุก ด้าน ผู้ที่ด้อยกว่าต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้ ที่เหนือกว่า ทั้งนี้ เพื่อจะให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยและก้าวหน้าอย่างเป็นเอกภาพ ความเชื่อระบอบเผด็จการกลุ่มนี้จึงพยายามไม่ให้ความขัดแย้งขึ้น ในสังคม
ซึ่งเสมือนเป็นตัวบ่อนทำลายเสถียรของสังคมและนิยมใช้อำนาจในการ ขจัดขัดแย้งมากกว่าที่จะใช้วิธีการประนีประนอม
รูปแบบการปกครองระบอบเผด็จการ
ลัทธิเผด็จการมีอยู่คู่กับสังคมโลกมาตั้งแต่มนุษย์รวมกันเป็นสั งคมยุคแรก ๆ เช่น สังคมเผ่าที่มีหัวหน้าเผ่าที่เป็นผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ปัจจุบัน สังคมได้วิวัฒนาการไปมาก รูปแบบการปกครองของลัทธิเผด็จการก็มีหลากหลาย ทั้งนี้เนื่องจากประเทศนั้น ๆ ได้ พยายามที่จะเอาลัทธินี้มาเสริมแต่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเ ศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองของตน เนื่องจากผู้นำเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ตนอยู่ในอำนาจนานมา กที่สุด
1.เผด็จการอำนาจนิยม หมายถึง การปกครองที่ใช้อำนาจเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ โดยมีอำนาจเป็นวิธีทางและจุดหมายปลายทาง รัฐบาลจะเข้าคุมสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง
ของประชาชน และไม่ยอมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมีการตรวจสอบหร ือใช้อำนาจสั่งปิดหนังสือพิมพ์โดยอ้างลัทธิชาตินิยมมาสร้างความ ชอบธรรมมาใช้กับอำนาจของตน แต่รัฐจะยังคงให้เสรีภาพในทางเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ ประชาชนสามารถเลือกนับถือศาสนา ดำเนินชีวิตส่วนตัวและ ธุรกิจอย่างเป็นอิสระพอเหมาะสมเผด็จการอำนาจนิยมจะมีการลงโทษผู ้กระทำผิดต่อเกณฑ์ของบ้านเมืองอย่างรุนแรง
ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผู้นำอำนาจนิยมนั้นจะพยายามแสวงหาอำนาจ และเมื่อได้อำนาจจะใช้อำนาจบีบบังคับและกำจัดฝ่ายตรงข้ามหรือศั ตรูทางการเมือง หรือแม้แต่กลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรืออาจได้รับผลกระทบ แต่เพียงเล็กน้อยเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นศัตรูทางก ารเมืองโดยตรง
2.เผด็จการเบ็ดเสร็จ หมายถึง การปกครองที่มีผู้นำซึ่งมีอำนาจสูงสุดเป็นผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดแต ่เพียงผู้เดียว และอำนาจยังสามารถกำหนดจุดหมายปลายทางและวิธีการต่าง ๆ ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดโดยพยายามสร้างอุดมการณ์ขึ้นมาเพื่อให้เ กิดความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจนั้น ๆ เช่น การจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา แต่ผู้พรรคเพียงคนเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าควบคุมอำนาจ พยายามสร้างความสำนึกให้ประชาชนเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามอำนาจรัฐหรือคำสั่งผิดอย่างรุนแรง เผด็จการประเภทนี้ใช้ความรุนแรงสังคมที่ปกครองโดยลัทธิเผด็จการ เบ็ดเสร็จ จึงมีสภาพเป็น อาณาจักรแห่งความกลัวประชาชนไม่แน่ใจในสภาพของตนเองประชาชนจึงไ ม่ในการวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านผู้นำจะว่าเป็นอาชญากรที่ต่อต ้านรัฐ และจะถูกกำจัดออกไป


1 ความคิดเห็น: